แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 6 การแยกสาร
เรื่อง การกลั่น จำนวน 2 คาบ / สัปดาห์ สอนครั้งที่ …..
วันที่ .............................พ.ศ.2552 จำนวนนักเรียน 45 คน /ห้อง
ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9)
ผู้สอน นางสาวปวีณา รอดเจริญ ค.บ.4 วิทยาศาสตร์
______________________________________________
มาตรฐานการเรียนรู้ ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ
การกลั่น เป็นการทำให้สารบริสุทธิ์ โดยอาศัยความร้อนให้สารระเหย แล้วกลับควบแน่นเป็นของเหลวตามเดิม โดยการกลั่นแบ่งได้ 3 วิธี การกลั่นแบบธรรมดา การกลั่นลำดับส่วน และการกลั่นไอน้ำ
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนอธิบายหลักการแยกสารโดยวิธีการกลั่นได้ถูกต้อง
จุดประสงค์นำทาง
1.นักเรียนทำการทดลองการกลั่นแบบธรรมดาได้ถูกต้อง
2.นักเรียนทำการทดลองการกลั่นลำดับส่วนได้ถูกต้อง
3.นักเรียนทำการทดลองการกลั่นไอน้ำได้ถูกต้อง
สาระการเรียนรู้
การกลั่น
1.การกลั่นแบบธรรมดา
2.การกลั่นลำดับส่วน
3.การกลั่นไอน้ำ
กระบวนการเรียนรู้
1.ขั้นทำการทดลองการกลั่นแบบธรรมดา
1.1 จัดแบ่งนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 9 กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-9 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน ( ใช้ใบรายชื่อเป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่ม )
1.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดานและรูปภาพ แล้วตั้งคำถามจำนวน 2 คำถาม
นักเรียนทราบไหมว่าการกลั่นแบบธรรมดาคืออะไร
นักเรียนลองยกตัวอย่างการตกผลึกที่นักเรียนรู้จักมากลุ่มละ 1 อย่าง
1.3 อธิบายเนื้อหาเรื่องการกลั่นแบบธรรมดาบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียนลงสมุดของนักเรียนทุกคน
1.4 ปฏิบัติภาระงานในหัวข้อการกลั่นแบบธรรมดา โดยให้ทำทุกคน
การกลั่นธรรมดา โดยทั่วไปใช้แยกสารผสมที่เป็นอนุภาคของแข็งละลายในอนุภาคของเหลว ซึ่งเนื่องจากองค์ประกอบของสารผสมมีสถานะต่างกันทำให้จุดเดือดมีความแตกต่างกันมาก
เช่น น้ำเกลือ ประกอบด้วย น้ำที่มีสถานะเป็นของเหลวและเกลือที่มีสถานะเป็นของแข็ง เมื่อให้ความร้อนแก่น้ำเกลือ น้ำจะระเหยกลายเป็นไอก่อนเพราะจุดเดือดต่ำกว่าเกลือ และเมื่อไอน้ำผ่านถึงเครื่องควบแน่นจะทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำที่ บริสุทธิ์ ส่วนเกลือจะอยู่ในขวดกลั่นเพราะยังไม่ถึงจุดเดือดของเกลือจึงไม่สามารถกลาย เป็นไอได้ ทำให้สารที่กลั่นได้คือ น้ำ สารที่เหลืออยู่ในขวดกลั่นคือ เกลือ ดังรูป
รูปแสดงการกลั่นแบบธรรมดา
ข้อควรทราบ- การกลั่นธรรมดาเหมาะกับสารผสมที่ต่างสถานะกัน หรือสารที่มีจุดเดือด (boiling point, b.p.) ต่างกันมากกว่า 80 องศาเซลเซียส - การกลั่นนั้นมีกระบวนการแบบเดียวกับการเกิดฝน
1.5 สะท้อนความคิดโดยการอภิปรายประเด็นการกลั่นแบบธรรมดา
1.6 .ใช้คำถามกับนักเรียนแล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบ
1.7 ประเมินผลสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
2.ขั้นทำการทดลองการกลั่นแยกลำดับส่วน
2.1 จัดแบ่งนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 9 กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-9 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน ( ใช้ใบรายชื่อเป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่ม )
2.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดาน แล้วตั้งคำถามจำนวน 2 คำถาม
นักเรียนทราบไหมว่าการกลั่นแยกลำดับส่วนคืออะไร
นักเรียนยกตัวอย่างการกลั่นแยกลำดับส่วนที่ใช้ในทางอุสาหกรรม
2.3 อธิบายเนื้อหาเรื่องการกลั่นแยกลำดับส่วนบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียน ลงสมุดของนักเรียนทุกคน
2.4 ปฏิบัติภาระงานในหัวข้อการกลั่นแยกลำดับส่วน โดยให้ทำทุกคน
2.5 สะท้อนความคิดโดยการอภิปรายประเด็นการกลั่นแบบธรรมดา
2.6 .ใช้คำถามกระตุ้นกับนักเรียนแล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบ
2.7 ประเมินผลสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
3.ขั้นทำการทดลองการสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
3.1 จัดแบ่งนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 9 กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-9 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน ( ใช้ใบรายชื่อเป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่ม )
3.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดาน แล้วตั้งคำถามจำนวน 2 คำถาม
นักเรียนทราบไหมว่าการสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำคืออะไร
นักเรียนทราบไหมว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นด้วยไอน้ำในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง
3.3 อธิบายเนื้อหาเรื่องการสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียนลงสมุดของนักเรียนทุกคน
3.4 ปฏิบัติภาระงาน โดยให้ทำทุกคน
3.5 สะท้อนความคิดโดยการอภิปรายประเด็นการกลั่นแบบธรรมดา
3.6 .ใช้คำถามกระตุ้นกับนักเรียนแล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบ
3.7 ประเมินผลสรุป เพิ่มเติมเนื้อหาและให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเรื่อง การกลั่น
แบบฝึกหัด
1. การกลั่นเป็นการแยกสารโดยอาศัยอะไร
2. การแยกสาร 2 ชนิดที่อุณหภูมิต่างกันมากใช้การกลั่นวิธีแบบใด
3. มีสารประกอบด้วยกัน 5 ชนิด แต่ละชนิดมีจุดเดือดต่างกันเพียงเล็กน้อย ใช้การกลั่นวิธีแบบใด
4. ต้องการแยกกลิ่นหอมจากกลีบจำปี ใช้วิธีการกลั่นแบบใด
5. ระบุการแยกสารต่อไปนี้ ใช้การกลั่นวิธีใด
- น้ำเกลือ - น้ำหวาน
- น้ำมันในผิวส้ม - อัลกอฮอล์ 90%
- น้ำมันดิบ - น้ำมันตะไคร้หอม
6.วิธีการแยกสารวิธีใดที่สามารถแยกสารจนได้สารบริสุทธิ์
7.ในการแยกสารที่มีกลิ่นหอมออกจากใบยูคาลิปตัสจะต้องใช้วิธีใด และสารที่แยกได้เรียกว่าอะไร
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1.กิจกรรมทำการทดลองการกลั่นแบบธรรมดา
1.1.ใบรายชื่อนักเรียน (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9)
1.2.เนื้อหาเรื่อง ทำการทดลองการตกผลึก, คำถามจำนวน 2 คำถาม
1.3.เนื้อหาเรื่อง ทำการทดลองการตกผลึก
1.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.1, สมุดจดบันทึก
1.5.ครูและกลุ่มนักเรียน
1.6.บัตรกำหนดเวลา
1.7.ประเมินผลสรุป
2.กิจกรรมทำการทดลองการกลั่นแยกลำดับส่วน
2.1.ใบรายชื่อนักเรียน (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9)
2.2.เนื้อหาเรื่อง ทำการทดลองการตกผลึก, คำถามจำนวน 2 คำถาม
2.3.เนื้อหาเรื่อง ทำการทดลองการตกผลึก
2.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.1, สมุดจดบันทึก
2.5.ครูและกลุ่มนักเรียน
2.6.บัตรกำหนดเวลา
2.7.ประเมินผลสรุป
3.กิจกรรมทำการทดลองการสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
3.1.ใบรายชื่อนักเรียน (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9)
3.2.เนื้อหาเรื่อง ทำการทดลองการตกผลึก, คำถามจำนวน 2 คำถาม
3.3.เนื้อหาเรื่อง ทำการทดลองการตกผลึก
3.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.1, สมุดจดบันทึก
3.5.ครูและกลุ่มนักเรียน
3.6.บัตรกำหนดเวลา
3.7.ประเมินผลสรุป
การวัดและประเมินผล
การวัดผล
1.วัดผลการทำการทดลองการกลั่นแบบธรรมดา ด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
2.วัดผลการทำการทดลองการกลั่นแยกลำดับส่วน ด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
3.วัดผลการทำการทดลองการสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ ด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
การประเมินผล
1.ประเมินผลการทำการทดลองการกลั่นแบบธรรมดา พบว่า นักเรียน ... คน ทำการทดลองการกลั่นแบบธรรมดา ไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่อง การกลั่นแบบธรรมดา เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
2.ประเมินผลการทำการทดลองการกลั่นแยกลำดับส่วน พบว่า นักเรียน ....คน ทำการทดลองการกลั่นแยกลำดับส่วน ไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่อง ทำการทดลองการกลั่นแยกลำดับส่วน เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
3.ประเมินผลการทำการทดลองการสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ พบว่า นักเรียน .... คน ทำการทดลองการสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ ไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่อง การทำการทดลองการสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
บันทึกหลังการสอน
ผลการสอน
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ปัญหา / อุปสรรค
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ ....................................................ครูผู้สอน
(นางสาวปวีณา รอดเจริญ)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น